เส้นทางลัดจบ ม.6

สอบเทียบ คือ การสอบในหลักสูตรการเรียนอื่น ๆ ที่อยู่ในระดับเดียวกันกับระบบการศึกษาหลัก เช่น สอบเทียบ ม.6 ด้วยหลักสูตรอื่น ๆ แล้วได้วุฒิเทียบเท่า ม.6 มา เป็นต้น โดยการสอบเทียบนั้นส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเห็นในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นส่วนใหญ่ บางคนเรียกสอบเทียบ ม.6 บ้างก็อาจจะเรียกว่า สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้ ซึ่งในประเทศไทยจะมีหลักสูตรสำหรับการสอบเทียบให้เลือกทั้งภาคไทยปกติและแบบนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), General Educational Development (GED), IGCSE & A Level หรืออาจจะเป็นระบบ Home School อื่น ๆ

สอบเทียบ ม.6 สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยหลักสูตร GED

อย่างที่เราได้รู้กันไปแล้วว่า GED หรือ General Educational Development คือหลักสูตรการศึกษาของอเมริกาที่ใช้สำหรับการสอบเทียบ ม.6 ซึ่งเป็นการสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยหลังจากสอบ GED ผ่านแล้ว เราจะได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิการศึกษาที่เทียบเท่า ม.6 มาค่ะ ซึ่งวุฒินี้ สามารนำไปใช้สมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้หลากหลาย ทั้งมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน ยื่นได้ทั้งในและต่างประเทศ

สอบเทียบ ม.6 สอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัย ด้วยหลักสูตร GED จะต้องสอบทั้งหมด 4 รายวิชา ได้แก่

  • Mathematical Reasoning
  • Reasoning Through Language Arts
  • Social Studies
  • Science

โดยข้อสอบทุกวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเลือกตอบ เติมคำ มีการเขียนตอบบ้างในบางรายวิชา คะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน กำหนดเกณฑ์การผ่านที่วิชาละ 145 คะแนน เรียกได้ว่าเกณฑ์การผ่านนั้นก็ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเสียทีเดียว โดยเมื่อสอบ GED ครบถ้วนแล้ว สิ่งที่เราจะได้มาคือ ประกาศนียบัตรการจบหลักสูตร หรือที่เรียกว่า Diploma ซึ่งก็คือวุฒินั่นเอง และนอกจากนี้จะได้รับใบรายงานผลคะแนนสอบ (Transcript) ของแต่ละวิชาอีกด้วย ซึ่งจะต้องนำไปใช้ยื่นสมัครเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

การสอบเทียบ GED มีจัดสอบทุกวัน ในแต่ละวันมีหลายช่วงเวลาให้เลือกสอบ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ $75 ต่อรายวิชา ใครที่พื้นฐานไม่ดี ไม่มั่นใจในการสอบ แอบมีข่าวดีมาบอกว่า หากเราสอบ GED ไม่ผ่านในรายวิชาใด เราสามารถสอบใหม่ได้โดยไม่ต้องรอระยะเวลา ซึ่งกำหนดโควตาการสอบใหม่แบบนี้ ให้สูงสุดถึงวิชาละ 3 ครั้ง แต่ถ้าครบโควตานี้แล้ว แต่ยังคงสอบไม่ผ่านและและอยากสมัครสอบใหม่ น้อง ๆ อาจจะต้องรอประมาณ 60 วัน ถึงจะสมัครสอบได้อีกครั้งค่ะ สำหรับการสมัครสอบนั้น สามารถสมัครในระบบออนไลน์ได้เลยที่เว็บไซต์ของ GED โดยตรง นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกสนามสอบได้ด้วย เพราะการสอบเทียบ GED มีสนามสอบทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ ภูเก็ต หรือที่แม่สอด จ.ตาก ซึ่งน้อง ๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ged.com

สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง

สำหรับใครที่จบ ม.6 ด้วยการสอบเทียบ GED มา สามารถยื่นสมัครเรียนได้หลากหลายคณะ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นคณะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา และอื่น ๆ อาจมีเพียงหลักสูตรที่เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์เท่านั้น ที่อาจจะมีหลายๆมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ไม่รองรับ แต่อาจจะยื่นในต่างประเทศ บางประเทศได้ เช่น โปแลนด์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยของภาครัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนก็อาจจะมีเงื่อนไขการรับสมัครที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราอาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่า นอกจากวุฒิ GED ที่เรามี ทางคณะต้องการคะแนนอะไรอีกหรือไม่ เช่น ต้องการคะแนน SAT คะแนน IELTS เพิ่ม หรือสามารถใช้วุฒิ GED เพียงอย่างเดียว แล้วสมัครได้เลย เป็นต้น

สอบเทียบ IGCSE & A Level อีกหนึ่งระบบที่จะช่วยให้ได้วุฒิเทียบเท่า ม.6

สอบเทียบ IGCSE & A Level คือ การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอังกฤษ ซึ่งหาก IGCSE เทียบเท่ากับระบบการศึกษาของประเทศไทยจะเทียบเท่าได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนั้น เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเทียบเท่าในระดับม.ปลาย น้อง ๆ จะต้องสอบ A Level ให้ผ่านด้วย โดยน้อง ๆ ที่เลือกเรียนหลักสูตร IGCSE จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 รายวิชา จุดเด่นที่น่าสนใจ ของการสอบเทียบด้วยระบบนี้คือ เราสามารถเลือกวิชาการเรียนและสอบได้ตามความสนใจของเราได้ เช่น สนใจด้านธุรกิจ ก็สามารถเลือกวิชา Business ได้ สนใจทางด้านวรรณกรรม ก็สามารถเลือกวิชา Literature ได้ และที่สำคัญเลยคือ การสอบเทียบ ม.6 ด้วย IGCSE & A Level สามารถใช้สมัครเรียนคณะทางด้านแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ได้ บอกได้เลยว่าดีสุด ๆ แต่ทั้งนี้จะมีเพียงแค่ 2 วิชาเท่านั้นที่การสอบเทียบ IGCSE ขอบังคับให้ทุกคนสอบ นั่นคือ Math และ ESL (English as a second language) เพราะถือว่าเป็นวิชาหลักที่สำคัญ นอกนั้นเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ โดย IGCSE นั้นมีรายวิชาให้เราเลือกเรียนมากกว่า 70 รายวิชา เยอะมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ เลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว

IGCSE จะมีการจัดสอบอยู่ 2 ครั้ง/ปี ได้แก่ ช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. และช่วงเดือนต.ค. – พ.ย. ของทุกปี ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสอบบ่อยเท่า GED แต่หากเราฟิตเต็มที่จนสามารถสอบให้ผ่านทั้ง 5 วิชาได้ภายในการสอบช่วงเดียวเลยก็ยังประหยัดเวลามากกว่าการเรียนในระบบการศึกษาปกติอยู่เยอะทีเดียวค่ะ ส่วนการให้คะแนนสอบของแต่ละวิชานั้น จะมีตั้งแต่ระดับ A* ลงไปจนถึงเกรด G โดยเกรดที่ถือว่าสอบผ่าน จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า C แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีบางคณะหรือบางมหาวิทยาลัยที่อาจจะต้องการเกรดที่สูงกว่านี้ก็ได้ เช่น ขอขั้นต่ำ B+ หรือ A ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดคุณสมบัติของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย

ข้อสอบของการสอบเทียบ IGCSE จะเป็นแบบเขียนตอบ หรืออาจจะมีสอบปฏิบัติด้วยแล้วแต่รายวิชา และแน่นอนว่าข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด นอกจากนี้ยังแบ่งระดับของข้อสอบออกเป็น 2 แบบตามความยากง่ายด้วย ได้แก่

  • ระดับ Core ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ C
  • ระดับ Extended ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ A*

เรียกง่าย ๆ ว่า การสอบแบบ Core จะง่ายกว่าการสอบแบบ Extended นั่นเอง ซึ่งหากถามว่าเราจะทราบผลสอบได้เมื่อไหร่ ก็ต้องบอกเลยว่า โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน โดยเมื่อสอบผ่าน IGCSE แล้ว ก็จะเป็นการมุ่งหน้าสู่การเรียนและสอบ A Level เพื่อให้ได้มาซึ่งวุฒิเทียบเท่าม.ปลายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งระบบการเรียนการสอบก็จะคล้าย ๆ กับ IGCSE แต่ลักษณะการเรียนจะเน้นการเรียนเชิงลึกมากขึ้นในรายวิชาที่เราเลือกมา ซึ่งจำนวนที่ต้องสอบให้ผ่านสำหรับ A Level ได้กำหนดไว้คืออย่างน้อย 3 รายวิชาค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

คอร์ส ปูพื้นฐานภาษาอังกฤษ 🇬🇧

ราคาเพียง 899     9 ชม เรียนได้ตลอดเวลา
สูงสุด 3 เดือน 
 
การันตีโดย ครูเนิร์ด
เกียรตินิยมอันดับ 1  ภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร 
 
คอร์สเหมาะสำหรับ. ประถม มัธยม หรือผู้เรียนเริ่มต้น
 
ในเนื้อหานี้คุณจะได้เรียนรู้อย่างสนุกได้ความรู้ไปกับ
🇬🇧  Part of speech: ประเภทของคำในภาษาอังกฤษ
🇬🇧  Noun: คำนาม
🇬🇧  Article: คำนำหน้านาม
🇬🇧  Pronoun: คำสรรพนาม
🇬🇧  Adjective: คำคุณศัพท์
🇬🇧  Adverb: คำกริยาวิเศษณ์
🇬🇧  Conjunction: คำสันธาน
🇬🇧  Preposition: คำบุพบท